logo

คำถามจาก วิกิยา

Home / FAQ ยา/ คาร์บามาซีปีน (Carbamazepine)

คำถามเกี่ยวกับยา

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : คาร์บามาซีปีน (Carbamazepine)

  • รักษาและบรรเทาอาการของโรคลมชัก
  • รักษาอาการถอนพิษจากสุรา  
  • บรรเทาอาการโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า ปวดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 9 (โรคปวดเหตุเส้นประสาทคอหอย)
  • บรรเทาอาการปวดปลายประสาทอันมีสาเหตุจากโรคเบาหวาน (โรคเส้นประสาทเหตุเบาหวาน)
  • รักษาและบำบัดอาการของโรคเบาจืด
  • ระงับ อาการคลุ้มคลั่ง อารมณ์แปรปรวน อารมณ์ซึมเศร้า
  • ผลต่อระบบเลือด: เช่น อาจก่อให้เกิดภาวะโลหิตจาง/ โรคซีดชนิด Aplastic anemia คือ การผลิตเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดงลดลง กดการทำงานของไขกระดูก ปริมาณของเกล็ดเลือดลดต่ำกว่าปกติ หรือเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิลมากผิดปกติ และ/หรือเกิดความผิดปกติของสารฮีโมโกลบินในเม็ดเลือด
  • ผลต่อผิวหนัง: เช่น ยานี้สามารถทำให้เกิด ผื่นคัน ลมพิษ มีภาวะ Steven Johnson syndrome ผื่นผิวหนังอักเสบ และผื่นแพ้แสงแดง
  • ผลต่อหลอดเลือดหัวใจ: เช่น อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว อาการบวมที่เท้า ความดันโลหิตสูง หรือ ความดันโลหิตต่ำ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ (เช่น วิงเวียน ง่วงซึม) ใจสั่น หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจทำงานผิดปกติ หลอดเลือดดำอักเสบ เกิดภาวะลิ่มเลือดจับตัวในหลอดเลือด
  • ผลต่อตับอ่อน: เช่น เกิดภาวะตับอ่อนอักเสบ
  • ผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะ: เช่น อาจทำให้ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่ออกโดยเฉียบพลัน
  • ผลต่อระบบประสาท: เช่น สามารถทำให้มีอาการ วิงเวียน ง่วงนอน รู้สึกกังวล สับสน อ่อนเพลีย การมองเห็นภาพไม่ชัดเจน ประสาทหลอน การพูดไม่ชัดเจน
  • ผลต่อระบบทางเดินอาหาร: เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ปากคอแห้ง รวมถึงกระเพาะอาหารอักเสบ
  • ผลต่อระบบการทำงานของกล้ามเนื้อลาย: เช่น ปวดบริเวณกล้ามเนื้อและข้อต่อ เป็นตะคริวที่ขา
  • ผลต่อระบบการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย: เช่น เป็นไข้ และหนาวสั่น
  • ห้ามใช้ยากับสตรีตั้งครรภ์ เพราะยานี้มีผลต่อการเจริญเติบโตของทารก
  • ไม่ควรใช้ยากับหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร เพราะยาคาร์บามาซีปีนสามารถขับออกมากับน้ำนมมารดาได้
  • ระวังการใช้ยาคาร์บามาซีปีนในผู้ป่วยด้วยโรคตับ

ก. การใช้ยาคาร์บามาซีปีนร่วมกับยาบางกลุ่ม จะทำให้ปริมาณความเข้มข้นของยาเหล่านั้นในกระแสเลือดลดต่ำลง ส่งผลถึงประสิทธิภาพของการรักษาด้อยลงไปเช่นกัน ตัวอย่างของยาบางกลุ่มที่กล่าวถึง เช่น

  • ยาแก้ปวด: เช่นยา Acetaminophen, Tramadol
  • ยาฆ่าพยาธิ: เช่นยา Albendazole
  • ยาคลายความวิตกกังวล/ยาคลายเครียด: เช่นยา Alprazolam, Clonazepam, Midazolam
  • ยาต้านเศร้า: เช่นยา Amitriptyline, Nortriptyline
  • ยาสเตียรอยด์: เช่นยา Prednisolone, Dexamethasone
  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด: เช่นยา Dicumarol, Warfarin
  • ยาฮอร์โมนต่างๆ: เช่นยา ยาเม็ดคุมกำเนิด, Levothyroxine

ข. การใช้ยาคาร์บามาซีปีนร่วมกับยาบางกลุ่ม กลับส่งผลให้ปริมาณความเข้มข้นของยาคาร์บามาซีปีนในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นจนอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงจากยาคาร์บามาซีปีนติดตามมามากขึ้น ยาบางกลุ่มเหล่านั้น เช่น

  • ยาลดกรด: เช่นยา Cimetidine, Omeprazole
  • ยาปฏิชีวนะ: เช่นยา Ciprofloxacin, Clarithromycin
  • ยาต้านเชื้อรา: เช่นยา Ketoconazole, Fluconazole
  • ยาแก้แพ้: เช่นยา Loratadine, Terfenadine

ค. การใช้ยาคาร์บามาซีปีนร่วมกับยาบางตัวที่ใช้รักษาวัณโรค สามารถก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ (ตับอักเสบ) ได้ ยารักษาวัณโรคดังกล่าว เช่นยา Isoniazid

ง. การใช้ยาคาร์บามาซีปีนร่วมกับยาขับปัสสาวะบางตัว สามารถทำให้ปริมาณเกลือโซเดียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ยาขับปัสสาวะดังกล่าว เช่นยา Furosemide และ Hydrochlorothiazide